KM_TH
การจัดการความรู้
- แผนการจัดการความรู้
- คลังความรู้
- ปีการศึกษา 2566
- ปีการศึกษา 2565
- ปีการศึกษา 2564
- ปีการศึกษา 2563
- ปีการศึกษา 2562
- ปีการศึกษา 2561
- ปีการศึกษา 2560
- ปีการศึกษา 2559
- ปีการศึกษา 2558
- ปีการศึกษา 2557
คลังความรู้ด้านการผลิตบัณฑิตและด้านวิจัย ปีการศึกษา 2566
คลังความรู้ด้านการผลิตบัณฑิต
คลังความรู้ด้านการวิจัย
โครงการจัดการความรู้ ด้านผลิตบัณฑิต เรื่อง การประชุมปรึกษากรณีศึกษา (Case Conference) ทั้งผู้ป่วยและปัญหาทางเภสัชกรรมการผลิต
- รายงานผลการดำเนินการจัดการความรู้ (คลิก)
โครงการจัดการความรู้ ด้านการวิจัย เรื่อง แนวทางการทำงานวิจัย ณ ห้องปฏิบัติการภายนอกมหาวิทยาลัย
โครงการจัดการความรู้ ด้านการเรียนการสอน เรื่อง "การประชุมปรึกษากรณีศึกษา (case conference) ทั้งผู้ป่วยและปัญหาทางเภสัชกรรมการผลิต"
- ผู้รับผิดชอบโครงการ : อาจารย์พศิน หัสดำ และคณะ
- รายงานผลการดำเนินการจัดการความรู้ (คลิก)
โครงการจัดการความรู้ ด้านการวิจัย เรื่อง "การเผยแพร่งานวิจัยผ่านตำราเพื่อขอตำแหน่งทางวิชาการ"
- ผู้รับผิดชอบโครงการ : อาจารย์ปารวัณ รามนันทน์ และคณะ
- รายงานผลการดำเนินการจัดการความรู้ (คลิก)
โครงการจัดการความรู้ ด้านการเรียนการสอน เรื่อง "การพัฒนาการเรียนการสอนแบบ practice-based teaching และ bed sided teaching"
- ผู้รับผิดชอบโครงการ : อาจารย์พศิน หัสดำ และ อาจารย์วัลย์ลดา แสงวิไลสาธร
- รายงานผลการดำเนินการจัดการความรู้ (คลิก)
โครงการจัดการความรู้ ด้านการวิจัย เรื่อง "การพัฒนางานวิจัยด้านเภสัชกรรมปฐมภูมิ"
- ผู้รับผิดชอบโครงการ : อาจารย์บรรณสรณ์ เตชะจำเริญสุข และคณะ
- รายงานผลการดำเนินการจัดการความรู้ (คลิก)
โครงการจัดการความรู้ ด้านการเรียนการสอน เรื่อง "แนวทางการพัฒนาอาจารย์ผ่านการสัมมนาความรู้เชิงบูรณาการด้านการบริบาลทางเภสัชกรรม"
- ผู้รับผิดชอบโครงการ : อาจารย์พศิน หัสดำ และคณะ
- รายงานผลการดำเนินการจัดการความรู้ (คลิก)
โครงการจัดการความรู้ ด้านการวิจัย เรื่อง "งานวิจัยสมุนไพรสู่การเป็นผลิตภัณฑ์"
- ผู้รับผิดชอบโครงการ :รองศาสตราจารย์ชาญชัย สาดแสงจันทร์ และคณะ
- รายงานผลการดำเนินการจัดการความรู้ (คลิก)
โครงการจัดการความรู้ "การเตรียมความพร้อมของนักศึกษาสำหรับการสอบใบประกอบวิชาชีพของสภาเภสัชกรรม"
ผู้รับผิดชอบโครงการ
- คณะกรรมการเตรียมความพร้อมนักศึกษาสำหรับการสอบใบประกอบวิชาชีพ
- คณะกรรมการจัดการความรู้
หลักการและเหตุผล
ตามที่สภาเภสัชกรรมได้กำหนดให้นักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ที่จบการศึกษา ต้องสอบขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมจึงจะสามารถประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมได้ โดยที่ผ่านมาการสอบขึ้นทะเบียนฯ ดังกล่าวจะเกิดขึ้นเมื่อนักศึกษาเรียนรายวิชาต่างๆ ครบถ้วนตามหลักสูตรซึ่งรวมถึงการผ่านการฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพครบตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตรในชั้นปีที่ 6 และต่อมาสภาเภสัชกรรมได้ออกประกาศสภาเภสัชกรรมที่ 17/2556 ลงวันที่ 23 พฤษภาคม 2556 กำหนดให้ผู้ที่มีสิทธิ์ขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมจะต้องเป็นผู้ที่สอบผ่านการสอบวัดความรู้ ความสามารถและทักษะ 2 ครั้ง กล่าวคือจะมีการสอบวัดความรู้ ความสามารถครั้งที่ 1 หลังจากสำเร็จการศึกษาชั้นปีที่ 4 และครั้งที่ 2 หลังสำเร็จการศึกษาชั้นปีที่ 6 โดยจะเริ่มใช้กับผู้ที่เข้าเรียนหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิตตั้งแต่ปีการศึกษา 2557 เป็นต้นไป ทั้งนี้นักศึกษาเมื่อจบการศึกษาชั้นปีที่ 4 จะไปฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพภาคบังคับในภาคฤดูร้อน ซึ่งประกอบด้วยการฝึกงานในโรงพยาบาลและร้านยา รวม 2 ผลัด คิดเป็นจำนวนชั่วโมงเท่ากับ 400 ชั่วโมง และกลับมาศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยในชั้นปีที่ 5 โดยช่วงเวลาของการจัดสอบวัดความรู้ ความสามารถและทักษะทางวิชาชีพของสภาเภสัชกรรมครั้งที่ 1 จะอยู่ในช่วงภาคการศึกษาที่ 1 ของชั้นปีที่ 5 และการจัดสอบวัดความรู้ความสามารถและทักษะทางวิชาชีพฯ ครั้งที่ 2 จะเกิดขึ้นภายหลังนักศึกษากลับจากการฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพในลักษณะ clerkship ต่อเนื่องจำนวน 7 ผลัด รวมระยะเวลาประมาณ 10 เดือน ตั้งแต่ภาคฤดูร้อนของการศึกษาชั้นปีที่ 5 ต่อเนื่องไปจนถึงช่วงเวลาประมาณกลางภาคการศึกษาที่ 2 ของชั้นปีที่ 6 ดังนั้น การเตรียมความพร้อมของนักศึกษาเภสัชศาสตร์สำหรับการสอบวัดความรู้ ความสามารถและทักษะทางวิชาชีพของสภาเภสัชกรรมทั้ง 2 ระดับจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง
การวางแนวปฏิบัติในการดำเนินโครงการเตรียมความพร้อมนักศึกษาสำหรับการสอบใบประกอบวิชาชีพจึงน่าจะเป็นประโยชน์ต่อคณาจารย์ เจ้าหนาที่ นักศึกษา และศิษย์เก่าที่จะเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว ซึ่งใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรม รวมถึงการพัฒนาและปรับปรุงให้กิจกรรมดังกล่าวบรรลุผลสัมฤทธิ์ที่ดียิ่งขึ้น
โครงการจัดการความรู้ "การเตรียมความพร้อมนักศึกษาชั้นปีที่ 1 เพื่อเข้าสู่การศึกษาในคณะเภสัชศาสตร์"
ผู้รับผิดชอบโครงการ
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ศิรประภา ทับทิม
หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันการเรียนการสอนในหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต 6 ปี จะมีความสอดคล้องหรือเป็นไปตามสมรรถนะทางวิชาชีพที่สภาเภสัชกรรมกำหนดทั้งในส่วนการเรียนการสอนด้านที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยและด้านที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ รวมทั้งกฎหมายและจรรยาบรรณในวิชาชีพ นอกจากนี้นักศึกษายังจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาทักษะการใช้ชีวิต สังคม อารมณ์ คุณธรรมและจริยธรรม ผ่านการทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้ได้บัณฑิตที่มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ในหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิตนั้น การเรียนในชั้นปีที่ 1 ของนักศึกษาจะได้มีโอกาสเรียนรายวิชาที่เป็นวิชาชีพเพียง 1 รายวิชา จะเริ่มเข้าสู่การเรียนการสอนในรายวิชาชีพเพิ่มขึ้นในภาคเรียนที่ 2 ของชั้นปีที่ 2 และจะได้เรียนรายวิชาในหมวดวิชาชีพอย่างเต็มที่ตั้งแต่ภาคเรียนที่ 1 ของชั้นปีที่ 3 เป็นต้นไป ดังนั้นการเตรียมความพร้อมแก่นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่เริ่มเข้ามาศึกษาในคณะเภสัชศาสตร์จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษาได้เห็นภาพเบื้องต้นของการเรียนการสอนในแต่ละด้าน ความเข้าใจเกี่ยวกับทักษะที่จำเป็นต้องฝึกฝนตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และระบบประกันคุณภาพการศึกษา น่าจะมีส่วนช่วยให้นักศึกษาได้เริ่มต้นการศึกษาอย่างมีเป้าหมาย มีการเตรียมตัวเพื่อเข้าสู่การเรียนในรายวิชาแต่ละด้านได้ดียิ่งขึ้นและได้ตระหนักถึงความจำเป็นของการเรียนรู้หรือฝึกฝนทักษะต่างๆ เพื่อผลสัมฤทธิ์ในการศึกษาและการใช้ชีวิตในอนาคต นอกจากนี้กิจกรรมที่เกิดขึ้นในโครงการน่าจะมีส่วนช่วยสานสัมพันธ์เบื้องต้นระหว่างนักศึกษาชั้นปีที่ 1 นักศึกษารุ่นพี่และคณาจารย์
การดำเนินโครงการเตรียมความพร้อมของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 เพื่อเข้าสู่การศึกษาในคณะเภสัชศาสตร์ ได้เริ่มมาตั้งแต่ปีการศึกษา 2559 โดยมีผลการประเมินความพึงพอใจจากนักศึกษาชั้นปีที่ 1 (รหัส 59) อยู่ในเกณฑ์ดี รวมทั้งนักศึกษาชั้นปีที่ 2 (รหัส 58) ที่ได้เข้าร่วมโครงการในฐานะพี่เลี้ยงได้เล็งเห็นประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับนักศึกษาและได้ขอให้ทางคณะฯ ได้จัดโครงการดังกล่าวให้กับนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ด้วย เนื่องจากนักศึกษาในรหัส 58 ยังไม่เคยได้เข้าร่วมโครงการเนื่องจากเป็นโครงการใหม่ของทางคณะฯ จากผลการตอบรับที่ดีในการดำเนินกิจกรรมดังกล่าว ทางคณะกรรมการจัดการความรู้ฯ จึงเห็นสมควรให้มีการจัดการความรู้เรื่อง “การเตรียมความพร้อมของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 เพื่อเข้าสู่การเรียนในคณะเภสัชศาสตร์” เพื่อวางแนวปฏิบัติแก่กลุ่มเป้าหมาย อันได้แก่ คณาจารย์ในแต่ละกลุ่มวิชา / เจ้าหน้าที่กลุ่มวิชา / คณะกรรมการนักศึกษา ในการจัดโครงการดังกล่าว ซึ่งอาจมีส่วนช่วยส่งเสริมให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีในการผลิตบัณฑิต
แนวทางการบูรณาการความรู้ด้านความปลอดภัยของผู้ป่วย (Patient Safety) เข้ากับการเรียนการสอน
ผู้รับผิดชอบโครงการ
- อาจารย์นิตย์ธิดา ภัทรธีรกุล
หลักการและเหตุผล
เนื่องด้วยสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (สรพ.) ได้ลงนามในข้อตกลงร่วมกับองค์การอนามัยโลก ในการแปลและเรียบเรียงคู่มือ “WHO Patient Safety Curriculum Guide: Multi-professional Edition” ฉบับภาษาไทย เพื่อนำมาใช้ในการบูรณาการในการเรียนการสอนในสถาบันการศึกษาที่ผลิตบุคลากรด้านสุขภาพ และทางศูนยประสานงานการศึกษาเภสัชศาสตร์แหงประเทศไทย (ศ.ศ.ภ.ท.) ก็ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพโดยมุ่งเน้นที่ความปลอดภัยของผู้ป่วย จึงแต่งตั้งคณะอนุกรรมการการพัฒนาหลักสูตรคุณภาพและความปลอดภัยของผู้ป่วย ในสถาบันการศึกษาเภสัชศาสตร์ขึ้นในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2558 และได้มีการจัดทำคู่มือผู้สอนเรื่อง “ความปลอดภัยของผู้ป่วย และการใช้ยาอย่างสมเหตุผล สำหรับสถาบันการศึกษาเภสัชศาสตร์” เพื่อให้สามารถนำมาขับเคลื่อนการเรียนการสอนที่เกี่ยวกับความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นไปในแนวทางเดียวกัน ดังนั้น คณะทำงานจึงมีความคิดริเริ่มการนำหลักการเรื่องความปลอดภัยของผู้ป่วยมาบูรณาการกับการเรียนการสอน ในรายวิชา PP5151 บูรณาการการบริบาลทางเภสัชกรรม เพื่อให้นักศึกษาเภสัชศาสตร์มีแนวคิดเพื่อนำไปปฏิบัติในการฝึกงานวิชาชีพต่อไปได้
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และมีแนวทางการบูรณาการความรู้ด้านความปลอดภัยของผู้ป่วย (Patient Safety) เข้ากับการเรียนการสอนของคณะเภสัชศาสตร์ในแนวทางเดียวกัน
- เพื่อให้นักศึกษาเภสัชศาสตร์ทราบถึงความสำคัญของความปลอดภัยของผู้ป่วยโดยมุ่งเน้นในส่วนที่เกี่ยวกับการใช้ยา พร้อมทั้งสามารถวิเคราะห์ปัญหาและเสนอแนะแนวทางแก้ไขเชิงระบบเพื่อให้เกิดความปลอดภัยของผู้ป่วย
- คู่มือผู้สอน Patient Safety and Rational Drug Use (คลิก)
- สรุปและประเมินผลโครงการ (คลิก)
โครงการจัดอบรมห้องปฏิบัติการปลอดภัย ครั้งที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2558
ผู้รับผิดชอบโครงการ
- อาจารย์ ดร.ประศาสน์ เจริญพานิช
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชวาลินี อัศวเหม
หลักการและเหตุผล
- เพื่อรักษาและปรับปรุงระบบบริหารจัดการ และกลไกการบริหารจัดการห้องปฏิบัติการปลอดภัยของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
- เพื่อนำระบบบริหารจัดการ และกลไกการบริหารจัดการห้องปฏิบัติการปลอดภัย นำไปสู่การปฏิบัติภายในห้องปฏิบัติการของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
- จัดอบรมนักศึกษา รหัส 57 ที่จะเข้าสู่การเรียนการสอนในห้องปฏิบัติการคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติเป็นที่เรียบร้อย ในโครงการปีต่อไปจึงต้องการรักษาระบบห้องปฏิบัติการปลอดภัยให้คงอยู่ และอบรมนักศึกษา รหัส 57 ที่จะเข้าสู่การเรียนการสอนในห้องปฏิบัติการ คณะเภสัชศาสตร์ เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง สามารถรักษาระบบห้องปฏิบัติการปลอดภัยให้ประสิทธิภาพต่อไปในอนาคต
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้นักศึกษาเภสัชศาสตร์ทราบถึงการปฏิบัติงานที่ถูกต้องในห้องปฏิบัติการต่างๆ ของคณะเภสัชศาสตร์ เพื่อให้สามารถจัดการเรียนการสอนในห้องปฏิบัติการได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ
- เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และมีแนวปฏิบัติที่ดีในห้องปฏิบัติการของคณะเภสัชศาสตร์ในแนวทางเดียวกัน
- สรุปและประเมินผลโครงการ (คลิก)
คลังความรู้ ปีการศึกษา 2557
- การประชุมวิชาการด้านการบริบาลทางเภสัชกรรม ครั้งที่ 17 Meet the Experts Pharmacist 2014 สำหรับเภสัชกรยุคใหม่
- โครงการบรรยายพิเศษ เรื่อง การวิจัยในชั้นเรียน
- โครงการอบรมมาตรฐานสากล ISO-IEC 17025 สาหรับห้องปฏิบัติการทดสอบ