"การติดเชื้อเอชไอวีในผู้ป่วยวัณโรค จังหวัดสมุทรปราการ"

คณะเภสัชศาสตร์ ม.หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ตั้งอยู่บนพื้นที่สมุทรปราการ โดยในเทอมหน้านี้นักศึกษาเภสัชศาสตร์ ปี 4 และปี 5 ที่จะออกไปฝึกปฏิบัติงานในรพ.และเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องทำการฝึกคลินิกวัณโรค และ/หรือเอชไอวี การรู้อุบัติการณ์และคุณลักษณะของผู้ป่วยจะทำให้ได้มีความเตรียมพร้อมและรับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้น

ตามแนวทางการรักษาของประเทศไทยทั้งวัณโรคและเอชไอวี ผู้ป่วยวัณโรคทุกรายควรได้รับการตรวจการติดเชื้อเอชไอวี การติดเชื้อเอชไอวีทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายลดลง ซึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้ติดเชื้อมีโอกาสเสี่ยงต่อการป่วยเป็นวัณโรคมากกว่าคนที่มีภูมิคุ้มกันปกติ ถ้าหากตรวจพบการติดเชื้อได้ไว จะทำให้เริ่มยาเอชไอวีได้ไวและลดโอกาสการติดโรคฉวยโอกาสได้ พร้อมยังลดการแพร่เชื้อให้แก่ผู้อื่นอีกด้วย

สำหรับยุทธศาสตร์ยุติปัญหาเอดส์เป้าหมาย 95-95-95 ของประเทศไทย ใน 95% แรก คือการที่ประชาชนรู้สถานะการติดเชื้อเอชไอวี ซึ่งในปี 2564 เป็น gap-year ที่ประเทศไทยปรับเป้าหมาย จาก 90-90-90 เป็น 95-95-95 โดยทั้งประเทศไทยบรรลุเป้าหมายของ 90% แรก แต่สำหรับผู้ป่วยวัณโรคในจ.สมุทรปราการ ยินยอมให้ตรวจหาเชื้อเอชไอวีเพียง 85%

ซึ่งนศภ.เมื่อสำเร็จการศึกษาไปเป็น ภก/ภญ อาจเป็นส่วนหนึ่งของทีม multi-disciplinary team ในการรณรงค์เพื่อทำการตรวจการติดเชื้อเอชไอวีในผู้ป่วยวัณโรค จ.สมุทรปราการ ได้ และในกลุ่มผู้ป่วยวัณโรคในจ.สมุทรปราการที่ตรวจหาเชื้อ พบว่ามีผู้ติดเชื้ออยู่ 15% โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเพศชาย มีโอกาสที่พบเชื้อมากกว่าเพศหญิงอยู่ 1.65 เท่า!!!

หากสนใจอ่านข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเข้าไปอ่านได้ที่ https://thaidj.org/index.php/CHJ/article/view/14283/12720

Reference: Auamnoy T, Chaivichacharn P, Ketnak T, Sompeewong P. HIV Incidence in Tuberculosis Patients, Samut-Prakan. Chonburi Hospital Journal. 2024;49(3):213-220.

Views: 35
Scroll to Top

https://rtpkamustoto.com 
https://pafikotajawa.org 
https://kamustoto.com.in